วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

ต่อประวัติวัดบางไกรใน

จากการคำนวณของกองโบราณคดี  กรมศิลปกร  และปูชนีย์วัตถุต่าง ๆ  ภายในวัด  วัดนี้สร้างครั้งสมัยกรุศรีอยุธยา  ต้นรัตนโกสินทร์

 ปลายสมัยรัชกาลที่ ๒  พ.ศ. ๒๓๔๐ ซึ่งของบางอย่างของทางวัดบางไกรใน อาทิ ธรรมมาสน์  บุษบกอ่อนช้อยงดงามมากซึ่งทางกรมศิลปกรได้ขอนำไปเป็นของเก่ารักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  ถาวรวัตถุต่าง ๆ ภายในวัด ได้มีการก่อสร้างเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมในสมัยเจ้าอาวาสองค์ก่อน ๆ เรื่อยมา แต่ยังมีของเก่าที่หลงเหลืออยู่  คือ อุโบสถ  สร้างสมัยกรุงศรีอยุธยา  กว้าง ๗ เมตร ยาว ๒๒ เมตร ก่อด้วยอิฐแผ่นใหญ่  ฉาบด้วยปูนขาวเปลือกหอยผสมน้ำอ้อย ส่วนกำแพงแก้วรอบอุโบสถ ซึ่งมีเจดีย์มุมละ ๓ องค์ ลวดลายงดงามมาก  ซึ่งหาดูได้ยากตามวัดวาอารามต่าง ๆ                                                     บัดนี้ได้ถูกรื้อพระเจดีย์และกำแพง  เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓  ได้ขุดพบพระทองคำ  และ  พระเครื่องต่าง ๆ และพระพุทธรูปบูชาแบบแกะสลัก  และ  พระบรมสารีริกธาตุบนยอดพระเจดีย์  และในวิหารหลังเก่าอีก ๑ หลัง  ซึ่งได้ถูกรื้อถอนไปแล้วเหลือเพียงพระประธาน

สิ่งสำคัญในวัดที่จัดเป็นปูชนียวัตถุ
      
๑.   หลวงพ่อพุทธไกรมงคล  หรือ ที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า หลวงพ่อแหน  ด้วยเหตุว่า ตอนไปอัญเชิญหลวงพ่อแหนจากอุโบสถหลังเก่า วัดตะระเก(ร้าง)  ซึ่งอยู่ในสวนลึก  ชาวบ้านได้ทำพิธีบวงสรวงอาราธนาใส่เรือชะล่าขนาดใหญ่ หรือ เรือชุด ใส่องค์หลวงพ่อมา และเรือได้จมลง  ทีดอกแหนติดองค์หลวงพ่อใหญ่เต็มไปหมด  เมื่อชาวบ้านอัญเชิญขึ้นมาแล้ว เลยเรียกชื่อหลวงพ่อแหนติดปากมากระทั่งทุกวันนี้  เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้านและข้างเคียง ชาวบ้านนับถือมาก  ซึ่งหลวงพ่อแหนนี้ตามประวัติสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา  อายุประมาณ ๔๐๐ ปีเศษ  ทางวัดได้อัญเชิญมาประดิษฐานภายในวิหารหลังใหม่ ซึ่งสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗ องค์หลวงพ่อสร้างด้วยศิลาทรายแดงทั้งองค์ ปางสมาธิ ลงรักปิดทอง  หน้าตักกว้าง ๓ ศอก ๑ คืบ ๒ นิ้ว บูรณะลงรักปิดทองใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๗
๒.   พระพุทธรูปหล่อทรงเครื่อง  เนื้อโลหะ สูงเท่าคน ปางห้ามสมุทร ปางรำพึง และปางป่าเลไลย์ เป็นพระพุทธรูปโบราณ อายุประมาณ ๒๐๐ ปี
๓.  พระพุทธรูปทรงเครื่องปางต่าง ๆ ปางพระพุทธเจ้าเปิดโลก พระมาลัยโปรดนรกสวรรค์ และพระแกะสลักลวดลายต่าง ๆ งดงามมาก
๔.  พระพุทธรูป  สมัยอยุธยา ๔ องค์ ซึ่งถูกตัดเศียร เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๔๒ เป็นเนื้อศิลาทรายแดง  ปัจจุบันได้บูรณะต่อเศียรเสร็จเรียบร้อยแล้ว
๕.  ศาลนายไกรทอง  อยู่ข้างวิหารพุทธไกรมงคล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น