วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

ต่อประวัติวัดบางไกรใน

จากการคำนวณของกองโบราณคดี  กรมศิลปกร  และปูชนีย์วัตถุต่าง ๆ  ภายในวัด  วัดนี้สร้างครั้งสมัยกรุศรีอยุธยา  ต้นรัตนโกสินทร์

 ปลายสมัยรัชกาลที่ ๒  พ.ศ. ๒๓๔๐ ซึ่งของบางอย่างของทางวัดบางไกรใน อาทิ ธรรมมาสน์  บุษบกอ่อนช้อยงดงามมากซึ่งทางกรมศิลปกรได้ขอนำไปเป็นของเก่ารักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  ถาวรวัตถุต่าง ๆ ภายในวัด ได้มีการก่อสร้างเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมในสมัยเจ้าอาวาสองค์ก่อน ๆ เรื่อยมา แต่ยังมีของเก่าที่หลงเหลืออยู่  คือ อุโบสถ  สร้างสมัยกรุงศรีอยุธยา  กว้าง ๗ เมตร ยาว ๒๒ เมตร ก่อด้วยอิฐแผ่นใหญ่  ฉาบด้วยปูนขาวเปลือกหอยผสมน้ำอ้อย ส่วนกำแพงแก้วรอบอุโบสถ ซึ่งมีเจดีย์มุมละ ๓ องค์ ลวดลายงดงามมาก  ซึ่งหาดูได้ยากตามวัดวาอารามต่าง ๆ                                                     บัดนี้ได้ถูกรื้อพระเจดีย์และกำแพง  เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓  ได้ขุดพบพระทองคำ  และ  พระเครื่องต่าง ๆ และพระพุทธรูปบูชาแบบแกะสลัก  และ  พระบรมสารีริกธาตุบนยอดพระเจดีย์  และในวิหารหลังเก่าอีก ๑ หลัง  ซึ่งได้ถูกรื้อถอนไปแล้วเหลือเพียงพระประธาน

สิ่งสำคัญในวัดที่จัดเป็นปูชนียวัตถุ
      
๑.   หลวงพ่อพุทธไกรมงคล  หรือ ที่ชาวบ้านเรียกติดปากว่า หลวงพ่อแหน  ด้วยเหตุว่า ตอนไปอัญเชิญหลวงพ่อแหนจากอุโบสถหลังเก่า วัดตะระเก(ร้าง)  ซึ่งอยู่ในสวนลึก  ชาวบ้านได้ทำพิธีบวงสรวงอาราธนาใส่เรือชะล่าขนาดใหญ่ หรือ เรือชุด ใส่องค์หลวงพ่อมา และเรือได้จมลง  ทีดอกแหนติดองค์หลวงพ่อใหญ่เต็มไปหมด  เมื่อชาวบ้านอัญเชิญขึ้นมาแล้ว เลยเรียกชื่อหลวงพ่อแหนติดปากมากระทั่งทุกวันนี้  เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้านและข้างเคียง ชาวบ้านนับถือมาก  ซึ่งหลวงพ่อแหนนี้ตามประวัติสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา  อายุประมาณ ๔๐๐ ปีเศษ  ทางวัดได้อัญเชิญมาประดิษฐานภายในวิหารหลังใหม่ ซึ่งสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗ องค์หลวงพ่อสร้างด้วยศิลาทรายแดงทั้งองค์ ปางสมาธิ ลงรักปิดทอง  หน้าตักกว้าง ๓ ศอก ๑ คืบ ๒ นิ้ว บูรณะลงรักปิดทองใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๗
๒.   พระพุทธรูปหล่อทรงเครื่อง  เนื้อโลหะ สูงเท่าคน ปางห้ามสมุทร ปางรำพึง และปางป่าเลไลย์ เป็นพระพุทธรูปโบราณ อายุประมาณ ๒๐๐ ปี
๓.  พระพุทธรูปทรงเครื่องปางต่าง ๆ ปางพระพุทธเจ้าเปิดโลก พระมาลัยโปรดนรกสวรรค์ และพระแกะสลักลวดลายต่าง ๆ งดงามมาก
๔.  พระพุทธรูป  สมัยอยุธยา ๔ องค์ ซึ่งถูกตัดเศียร เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๔๒ เป็นเนื้อศิลาทรายแดง  ปัจจุบันได้บูรณะต่อเศียรเสร็จเรียบร้อยแล้ว
๕.  ศาลนายไกรทอง  อยู่ข้างวิหารพุทธไกรมงคล

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

วัดบางไกรใน...โบราณสถาน 300 ปี

วัดบางไกรใน  ตั้งอยู่ริมคลองบางไกรนอก   ตำบลบางขุนกอง  อำเภอบางกรวย  จังหวัดนนทบุรี ขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม  118 ตอนพิเศษ 127 วันที่  21 ธันวาคม 2544 

วัดบางไกรใน  สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เดิมชื่อ วัดนายไกร เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่นายไกรทอง โบราณสถานสำคัญภายในวัดบางไกรใน ได้แก่ อุโบสถ อุโบสถ  ก่ออิฐฉาบปูนเรียบ มีมุขพาไลโครงสร้างไม้ทั้งหน้าและหลัง หน้าบันเป็นไม้สักฉลุลวดลาย บานประตูด้านหน้ามีภาพเขียนสีรูปทวารบาลถืออาวุธด้ามยาว ฉากหลังเขียนภ าพช่อดอกพุดตานใบเทศ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางสมาธิมีพระอัครสาวกซ้าย - ขวาและพระพุทธรูปปางมารวิชัยข้างละองค์

alt

ภายในโบสถ์ของวัดบางไกรใน ยังมีองค์หลวงพ่อโต อายุ 300 ปี ซึ่งองค์หลวงพ่อโตอยู่ระหว่างการบูรณะ ภายในพระอุโบสถยังมีองค์พระพุทธรูปองค์ขนาดกลางหลายองค์รายล้อมองค์หลวงพ่อโต  หลังออกจากโบสถ์ บริเวณภายนอกวัดบางไกรใน  ยังมีศาลเก่าแก่ ศาลแห่งนี้ชื่อว่า “ศาลนายไกรทอง ผู้ปราบจระเข้ชาลาวัน บรรพบุรุษชาวบางนายไกร ถิ่นฐานบ้านนายไกรทอง” ภายในศาลนี้จะมีรูปปั้นของนายไกรทอง กับ ชาลาวัน ซึ่งศาลแห่งนี้สร้างขึ้นมาเพื่อเชิดชูนายไกรทอง ที่สามารถปราบพญาชาลาวัน

alt
ภายในบริเวณวัดบางไกรในมี วิหารหลังเขียว (หลังเก่า) มีพระพุทธรูปหลวงพ่ออู่ทองหรือหลวงพ่อแหนซึ่งตามประวัติเดิมหลวงพ่ออูถูกสร้างในสมัยพระเจ้าอู่ทอง ครั้งที่มาตั้งทัพไปรบเมืองราชบุรี หลวงพ่ออู่ทองเดิมย้ายมาจากวัดร้างและที่เรียกหลวงพ่อแหนเพราะว่าในการเชิญหลวงพ่อมาประดิษฐาน ณ วัดบางนายไกร หลวงพ่อแหนตกลงไปในคลองเมื่อนำขึ้นมาแหนก็ติดตามตัว จึงเรียกหลวงพ่อแหน

ประวัติวัดบางไกรใน

       วัดบางไกรในเป็นวัดราษฎร์    ตั้งอยู่เลขที่ ๑๐๑ หมู่ ๔ ต.บางขุนกอง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี  เดิมชื่อวัดบางนายไกร
มีเนื้อที่ ๑๒ ไร่ ๑งาน ๕๐ ตรางวา  ตามประวัติลูกหลานนายไกรทองผู้ปราบชาละวันเป็นผู้สร้างวัดบางไกรในนี้เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่นายไกรทอง ตามประวัติมีอยู่ว่านายไกรทองมีอาชีพทำสวน และคุมเรือสินค้า นำผลไม้จากสวนนนทบุรี ล่องเรือไปขายทางเมืองพิจิตรและได้ถือโอกาสไปร่ำเรียนวิชาอาคมกับท่านพระครูวัดหน้าพระธาตุ  เมืองพิจิตร ต่อมาเศรษฐีเมืองพิจิตรได้ประกาศว่าใครก็ตามที่ปราบชาละวันได้จะยกลูกสาวที่ชาละวันคาบไปยกให้เป็นภรรยา โดยการอาสาของนายไกรทองที่สำเร็จวิชาปราบจรเข้ จึงอาสาปราบพระยาชาละวันถึงแก่ความตายด้วยหอกสะตะโลหะ เศรษฐีจึงได้ยกลูกสาวให้เป็นภรรยาและอยู่ทำนาหากินที่เมืองพิจิตรจนมีลูกหลานมากมาย ต่อมานายไกรทองถึงแก่ความตาย ลูกหลานมีความกตัญญูระลึกถึงนายไกรทองผู้เป็นพ่อ จึงร่วมใจกันสร้งวัดขึ้นในถิ่นบ้านเกิดของนายไกรทอง ที่จังหวัดนนทบุรีชื่อวัดบ้านนายไกร และเปลี่ยนเป็นวัดบางนายไกรปัจจุบันเป็นวัดบางไกรในจนกระทั่งถึงทุกวันนี้
หลักฐานที่ปรากฏที่สุทรภู่ที่ผ่านมา
                    บางในไกร ไกรทอง  อยู่คลองนี้
             ชื่อจึงมี  มาทุกวัน  เหมือนมั่นหมาย
             ไปเข่นฆ่า  ชาละวัน  ให้พลันตาย
             เป็นเลิศชาย  เชี่ยวชาญ  ผ่านวิชา
                    ได้ครอบรองสองสาวชาวพิจิตร
             สมสนิท  นางตะเข้  เสน่หา
             เหมือนตัวพี่  นี้ได้ครอง  แต่น้องยา
             จะเกื้อหน้า  พางาน  ขึ้นครามครันฯ